JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ประกันอัคคีภัย

ประกันอัคคีภัย
 

คุ้มครองบ้านและทรัพย์สินที่คุณรักจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

ไฟไหม้บ้านเป็นปัญหาที่ยากในการคาดเดาและไม่มีใครปรารถนาให้เกิดขึ้น เนื่องจากมันสามารถทำให้เกิดความเสียหายทั้งในเรื่องของชีวิตและทรัพย์สิน และเกิดได้มากขึ้นในช่วงฤดูร้อน ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านนั้นมีหลายประการ

การทำประกันอัคคีภัยบ้านจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ เพราะมันช่วยให้เจ้าของบ้านได้รับการความคุ้มครอง และการฟื้นฟูความเสียหายหากเกิดเหตุสุดวิสัย โดยหากเกิดเหตุสุดวิสัย ความเสี่ยงจะถูกโอนไปยังบริษัทประกัน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเจ้าของบ้าน และยังมีทุนเพียงพอให้ใช้ซ่อมแซมบ้านอีกด้วย
 

ทำไมต้องซื้อประกันอัคคีภัยบ้าน ?

1. ตามกฎหมายไทยในการกู้เงินธนาคารซื้อบ้าน ผู้กู้จะต้องทำประกันอัคคีภัยตลอดระยะเวลาผ่อนบ้านตามสัญญาที่ได้ทำไว้ ระยะเวลาประกันอัคคีภัยทั่วไปจะเป็น 2-3 ปีหรือบางครั้งอาจถึง 5 ปี บริษัทประกันยังมีแผนที่ครอบคลุมเบี้ยประกันในระยะเวลานานขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อกรมธรรม์ประกันเดิมหมดอายุแต่ยังผ่อนบ้านไม่หมด ต้องทำการต่อประกันด้วยกรมธรรม์ใหม่ต่อเนื่องจนกว่าจะผ่อนบ้านให้สิ้นสุด โดยระบุมูลค่าบ้านเป็นหลักเกณฑ์ ในบางกรณี เราสามารถเลือกแผนปรับลดเบี้ยประกันลงหรือเพิ่มเบี้ยเพื่อความคุ้มครองทรัพย์สินภายในบ้านได้ และเบี้ยประกันควรจะสัมพันธ์ไปกับมูลค่าของบ้านและทรัพย์สินเสมอ

2. หากคุณซื้อบ้านด้วยเงินสดหรือสร้างบ้านเองโดยไม่ได้กู้เงินธนาคาร กฎหมายไม่บังคับให้คุณทำประกันอัคคีภัย อย่างไรก็ตามการทำประกันอัคคีภัยก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยรองรับความเสี่ยงในอนาคต ในกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้บ้าน เสียค่าซ่อมบ้านที่มีมูลค่าความเสียหายสูงจะเป็นภาระกับเจ้าของบ้านอย่างหนัก ดังนั้นการลงทุนเล็กน้อยในการซื้อประกันอัคคีภัยก็ยังดีกว่าที่ต้องเสียเงินในอนาคตเพื่อซ่อมบ้านภายหลัง
 

ประกันอัคคีภัยบ้าน คุ้มครองอะไรบ้าง ?

1. โครงสร้างที่ไม่รวมฐานราก: ประกันอัคคีภัยบ้านจะคุ้มครองส่วนของบ้านที่อยู่เหนือพื้นดิน เช่น เสา ผนัง หลังคา พื้น ประตู หน้าต่าง รั้ว อาคารจอดรถ เป็นต้น โดยส่วนนี้จะถูกกำหนดในรายระเอียดกรมธรรม์ประกันภัย

2. ทรัพย์สินภายในบ้าน: บางกรณีที่คุณต้องการความคุ้มครองสำหรับทรัพย์สินภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆที่ใช้สำหรับการอยู่อาศัย คุณอาจต้องซื้อประกันเสริมหรือเลือกแผนที่มีความคุ้มครองนี้เป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยบ้าน

3. การคุ้มครองจากการโจรกรรม: ประกันอัคคีภัยบ้านบางแผนอาจครอบคลุมการสูญหายหรือเสียหายจากการโจรกรรมด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองในเรื่องนี้อาจมีเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จำกัด
 

ประกันอัคคีภัย คุ้มครองภัยอะไรบ้าง ?

ความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ความคุ้มครองเรื่องอัคคีภัย ส่วนที่ 2 คือ ความคุ้มครองเรื่องภัยพิบัติ ส่วนที่ 3 คือ ความคุ้มครองเรื่องการโจรกรรมทรัพย์สิน โดยจะมีรายละเอียดดังนี้:

ความคุ้มครองเรื่องอัคคีภัย:
ประกันภัยบ้านหรือประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายของบ้านจากอัคคีภัย โดยประกอบด้วยเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ไฟไหม้บ้าน ฟ้าผ่าลงกลางหลังคา และแก๊สหุงต้มรั่ว อย่างไรก็ตาม ของที่ไม่อยู่ในรายการความคุ้มครองจะไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น โครงสร้างอื่นๆที่อยู่ใต้ดิน

ความคุ้มครองเรื่องภัยพิบัติ:
นอกจากความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัยแล้ว ประกันภัยบ้านยังคุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติต่างๆด้วย เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ภัยลูกเห็บ สินามิ หรืออื่นๆตามรายละเอียดที่ระบุในกรมธรรม์ ความคุ้มครองในเรื่องนี้จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดที่บริษัทประกันกำหนด

ความคุ้มครองการโจรกรรมทรัพย์สิน:
ประกันบ้านหรือประกันอัคคีภัยบางบริษัทยังคุ้มครองครอบคลุมไปถึงกรณีการถูกโจรกรรมทรัพย์สินภายในบ้าน ซึ่งหมายถึงความเสียหายทั้งในส่วนของทรัพย์สินและตัวบ้าน ที่ได้รับความเสียหายจากการโจรกรรมนั้นๆ ดังนั้น คุณจะได้รับการคุ้มครองทั้งในสิ่งของภายในบ้านและส่วนของบ้านเอง
 

ก่อนซื้อประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยต้องเข้าใจข้อยกเว้นความคุ้มครอง

ประกันบ้านทั่วไปให้ความคุ้มครองบ้านทุกประเภทที่ไม่ได้ระบุไว้ว่าไม่คุ้มครอง อย่างไรก็ตาม บ้านไม้ทั้งหลังเป็นประเภทที่บริษัทประกันบ้านส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครอง และรูปแบบแผนประกันบ้านมักมีรายละเอียดที่ชัดเจนในเอกสารกรมธรรม์เพื่อระบุความคุ้มครองและข้อบังคับในการเคลม เพื่อป้องกันการไม่คุ้มครองความเสียหายต่างๆ อาทิเช่น ความเสียหายจากภัยสงคราม การปฏิวัติ ความเสียหายจากการแผ่รังสี ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และความเสียหายจากการเผาทำลายทรัพย์สินโดยคำสั่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
 

อัตราเบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ?

  • ลักษณะการใช้สถานที่
  • ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง (กำหนดตามวัสดุที่ใช้สำหรับโครงสร้าง ผนัง และพื้น ของอาคาร) และสถานที่ตั้ง
  • ลักษณะภัยของสถานที่เอาประกันภัย (ภัยโดดเดี่ยว/ภัยไม่โดดเดี่ยว)
  • การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง (ใช้กำหนดเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัย)

***สามารถซื้อประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน(IAR) เพิ่มได้หากท่านต้องการคุ้มครองในเรื่องทรัพย์สินภายในบ้าน